หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา

ไทยคดีศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไร
                  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา มีเนื้อหาบูรณาการให้ผู้เรียนมีความรู้เรื่องไทยในมิติต่างๆ ได้แก่ ประวัติศาสตร์ สังคม ภาษา และวัฒนธรรม จนสามารถนำความรู้เหล่านี้มาวิเคราะห์และวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมไทยได้อย่างมีเหตุผล

ผู้สนใจสมัครเรียนในหลักสูตรต้องมีวุฒิอะไร
                  หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา รับผู้จบการศึกษาตั้งแต่ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ต้องมีประสบการณ์การทำงาน ไม่น้อยกว่า 5 ปี) มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และระดับอนุปริญญา เข้าศึกษาในหลักสูตรฯ โดยแบ่งเป็น คือ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา 4 ปี สำหรับผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา 2 ปี สำหรับผู้จบการศึกษาระดับระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือระดับอนุปริญญา

การสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรต้องมีพื้นฐานทางด้านใด
                  ผู้สนใจเข้าสมัครในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในด้านใดด้านหนึ่งเฉพาะทาง เพียงแต่ควรเป็นผู้มีความสนใจและต้องการศึกษาด้านประวัติ สังคม ภาษา วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย รวมถึงเรื่องของไทยในปัจจุบัน

ไม่ชอบท่องจำ เรียนไทยคดีศึกษาได้หรือไม่
                   หลักสูตรไทยคดีศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมไทย ดังนั้นเนื้อหาในหลักสูตรจึง
ไม่มุ่งเน้นการท่องจำ

เรียนจบในหลักสูตรนี้แล้วสามารถศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้หรือไม่
                 ผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งในสาขาวิชาไทยคดีศึกษาที่ปัจจุบันในหลายมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงสามารถศึกษาต่อในสาขาวิชาอื่นๆ เช่น วัฒนธรรมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ เป็นต้น


เรียนจบไทยคดีศึกษาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง
                 ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาไทยคดีศึกษา สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น นักวัฒนธรรม ครู อาจารย์ (ทางด้านภาษาไทย สังคม หรือประวัติศาสตร์) รวมถึงสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาชีพที่ทำอยู่ เช่น มัคคุเทศก์ นักโบราณคดี นักภาษาโบราณ เป็นต้น

ผู้เข้าชม 7547 คน UPDATE วันที่ 29/3/2557 11:27:49





ควรใช้ความละเอียดหน้าจอที่ 1024 by 768 pixels
 และ
Internet Explorer version 5.5 + ขึ้นไป
จัดทำโดย
 คณะทำงานเผยแพร่สารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Copyright © STOU Sukhothai Thammathirat OpenUniversity.
 All rights reserved.


admin